บริการตรวจระบบดับเพลิง
ตรวจระบบดับเพลิงโดยทีมวิศวกรมืออาชีพ ตรวจสอบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง Fire pump system บริการทำ PM ระบบดับเพลิง ทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิงพร้อมออกรายงานรับรองพร้อมข้อแนะนำปรับปรุงแก้ไข
โทร 0994241994 หรือ 0988434977
ความสำคัญของการตรวจระบบดับเพลิง
ในปัจจุบันสถานประกอบการ ร้านค้า หรืออาคารเกือบทุกแห่ง ได้มีการติดตั้งระบบดังเพลิงด้วยน้ำที่มีมาตรฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่เจ้าของว่า จะสามารถรับมือกับเหตุร้ายถ้าหากเกิดขึ้นมาได้ ระบบดับเพลิงด้วยน้ำจำเป็นที่จะต้องพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิง หรือ Performance Test Fire pump มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เราได้ทราบว่า ปั๊มดับเพลิงมีความสามารถหรือสมรรถนะเพียงพอ ที่จะสามารถนำไปใช้งานสำหรับการดับเพลิงตามส่วนต่าง ๆ ของอาคารได้หรือไม่ มีประสิทธิภาพลดลงอย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่ติดตั้งในครั้งแรกไปเท่าไรแล้ว
ความสำคัญของการทดสอบ
การทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิง หรือ Performance Test Fire pump นั้นคือ การกระบวนการทดสอบให้รู้ถึงประสิทธิภาพการทำงานของปั๊มดับเพลิง ทำได้โดยการวัดอัตราการไหลเวียนของน้ำ และความดันสุทธิที่ได้ในขณะที่ปั๊มดับเพลิงทำงาน นำค่าที่ได้จากการทดสอบมาสร้างกราฟความสัมพันธ์ระหว่างความดันกับอัตราการไหลเวียน การทำ Performance Test Fire pump จะให้ข้อมูลที่สำคัญ ซึ่งจะสามารถตอบคำถามที่ว่า ปั้มดับเพลิงมีประสิทธิภาพอย่างไร ปั๊มดับเพลิงมีความสามารถดับเพลิงในส่วนต่าง ๆ ได้หรือไม่ และมีกฎหมายหรือมาตรฐานอะไร ที่เกี่ยวข้องกับระบบปั๊มดับเพลิงให้ต้องดำเนินการ
จากคำถามนี้การทดสอบประสิทธิภาพปั๊มดับเพลิง ยังเป็นการดำเนินการที่มีความสอดคล้องตามหลักมาตรฐานสากล NFPA 25 และกฎหมายในประเทศที่กำหนดให้ต้องทำ ซึ่งต้องมีการทดสอบอย่างสม่ำเสมอทุกปีด้วย
ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าชั้นนำ
เข้าตรวจสอบ และทดสอบระบบ Fire Pump กว่า 25 รายการแบบสัญญารายปี (ไตรมาสละ 1 ครั้ง) พร้อม REPORT ทุกครั้งที่เข้าตรวจทดสอบ
ควบคุมการดำเนินงานโดยวิศวกรวิชาชีพ พร้อมอุปกรณ์-เครื่องมือที่ได้รับการ Caribrated ความแม่นยำ (ทุก 6 เดือน) เพื่อให้ได้ผลลัพท์ จากการ
ตรวจทดสอบที่มีค่าคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด ตัวอย่างรายการเข้าตรวจสอบ และทดสอบ อาทิ
1. ตรวจสอบเครื่องยนต์ หรือ มอเตอร์ต้นกำลัง / ความเร็วรอบ / อุณหภูมิ / ค่าการสั่นสะเทือน ฯลฯ
2. ตรวจสอบปั๊มดับเพลิง / แรงดันด้านดูด / แรงดันด้านส่ง / ความเร็วรอบ / อุณหภูมิ / ค่าการสั่นสะเทือน ฯลฯ
3. ตรวจสอบระบบรักษาแรงดัน / แรงดันด้านดูด / แรงดันด้านส่ง / ความเร็วรอบ / อุณหภูมิ / ค่าการสั่นสะเทือน ฯลฯ
4. ตรวจสอบตู้ควบคุม / ระบบทำงานอัตโนมัติ / ระบบสั่งการแบบบุคล / ระบบสั่งการชาร์จ ฯลฯ
5. ตรวจสอบระบบระบายแรงดันส่วนเกิน
ให้วิศวกร เข้าไปตรวจ ดีกว่าไหมครับ
Why We're Great >
รอยร้าว ควรรีบแก้ไข เพราะถ้าปล่อยระยะยาวจะยิ่งทำให้ห่างออกและแก้ไขยากยิ่งขึ้นครับ
นี่แค่บางตัวอย่างที่บอกสาเหตุรอยร้าวได้ แต่ก็มีอีกหลายสาเหตุ ทางที่ดีควรปรึกษาหรือเรียกวิศวกร ICANBUILD เข้าหาสาเหตุและวิธีแก้ไขจะดีกว่าครับ
วิธีแก้ไข คือการเก็บรอยร้าวโดยการฝังแผ่นเหล็กเพื่อไว้ในมีการยึดกันของปูนและผนัง ซึ่งระยะห่างใการวางแผ่นเหล็กและขนาด จะเป็นหน้าที่ของวิศวกรเป็นผู้คำนวนในการใช้ครับ
ลักษณะของรอยร้าว
รอยร้าว เป็นสิ่งที่มักมาคู่กับบ้านเมื่อมีอายุการใช้งานไปสักระยะเวลาหนึ่ง ทว่าเจ้าของบ้านส่วนใหญ่กลับละเลยและไม่ซ่อมแซมรอยร้าวเหล่านี้ ด้วยคิดว่าไม่เป็นอันตรายและไม่อยากสิ้นเปลืองค่าซ่อมแซม แต่คุณทราบหรือไม่ว่า รอยร้าวบางลักษณะก็เป็นการเตือนล่วงหน้าถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับบ้าน เนื่องจากเป็นรอยร้าวที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างอาคารโดยตรง หากปล่อยทิ้งไว้นานเข้าอาจเป็นอันตรายถึงขั้นทำให้บ้านถล่มได้เลย เราจะพาไปดูรอยร้าวที่เราพึงระวังเมื่อพบเห็นในบ้านครับ
รอยร้าวบริเวณรอยต่อของส่วนต่อเติม
รอยร้าวแนวดิ่งที่ด้านบนกว้างกว ่าด้านล่างใกล้กับเสาและคาน เกิดจากการที่ฐานรากส่วนต่อเติมมีการทรุดไม่เท่ากันกับฐานรากส่วนอาคารเดิม หรือใช้เสาเข็มสั้นเกินไปทำให้อยู่ไม่ลึกถึงชั้นดินแข็ง >>> การแก้ไขทำได้โดยเสริมเสาเข็มและฐานราก หรืออาจต้องรื้อส่วนต่อเติมทำใหม่เลยหากมีการทรุดตัวมาก <<<
รอยร้าวบนเสา
มีหลายลักษณะ เช่น
รอยร้าวแนวดิ่งที่เกิดขึ้นบริเวณโคนเสา เกิดจากการที่เสารับน้ำหนักได้ไม่ดีพอหรือรับน้ำหนักมากเกินไป
รอยร้าวแนวเฉียง 45 องศา เกิดจากการรับแรงเฉือนจากการที่อาคารเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน
รอยร้าวแนวนอนบริเวณต้นเสาและโคนเสา เกิดจากการรับแรงบิดกับแรงเฉือน อันมีสาเหตุมาจากการที่คานยื่นออกจากเสามากเกินไป
และรอยร้าวในเสาที่เกิดจากการที่เหล็กข้างในเสาเป็นสนิม เสามีเนื้อพรุนเป็นโพรงและเสามีความหนาที่หุ้มเหล็กน้อยเกินไป
>> การแก้ไขถ้าเกิดจากการเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ให้กะเทาะปูนด้านนอกและขัดสนิมออก แล้วใช้ปูนเกราต์ (Grout) กำลังสูงฉาบปิดผิว แต่ถ้าเสารับน้ำหนักไม่ไหว อาจต้องเสริมเหล็กเสาเพิ่มด้วย <<
รอยร้าวบนเพดาน
ลักษณะเป็นเส้นตรงหรือเป็นรอยกากบาทร้าวเข้าหาเสา 4 เสา เกิดจากการที่พื้นรับน้ำหนักบรรทุกมากเกินไป ซึ่งอาจทำให้พื้นถล่มลงมาทั้งแผงได้
>> การแก้ไขเบื้องต้นควรย้ายของที่อยู่ชั้นบนออกก่อน ถ้ารอยร้าวนั้นยังมีการลุกลามอาจเกิดจากการคำนวณการรับน้ำหนักที่ไม่ดีมาตั้งแต่ต้น ให้หยุดใช้พื้นที่ชั้นบนและชั้นล่างจนกว่าจะมีการตรวจสอบ โดยอาจต้องเสริมโครงสร้างเสาและคาน หรือเปลี่ยนโครงสร้างพื้นใหม่ <<
รอยร้าวแนวเฉียงกลางผนัง
เป็นรอยร้าวเฉียง 45 องศาบนผนัง สาเหตุเกิดจากเสาใดเสาหนึ่งเกิดทรุดตัว และดึงให้ผนังที่ติดกับเสาเกิดรอยร้าว หากดูจากแนวรอยร้าวก็จะรู้ว่าเสาต้นใดเป็นตัวดึงให้ผนังฉีกออกจากกัน ถ้าพบให้ตรวจสอบความกว้างและความยาวของรอยร้าวนั้น ถ้าไม่มีการขยายเพิ่มขึ้นมากก็อาจยังไม่เป็นอันตราย แต่หากมีปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ แสดงว่าอาการเริ่มหนักแล้ว ยิ่งถ้าลามไปทั้งอาคารด้วยแล้วอาจทำให้อาคารถล่มได้เลย
>> การแก้ไขค่อนข้างยุ่งยาก อาจต้องเสริมเสาเข็มและฐานราก หรือใช้วิธีดีดบ้าน (ยกบ้านขึ้นชั่วคราว) แล้วทำฐานรากใหม่ หากปล่อยให้เกิดรอยร้าวลักษณะนี้ทั้งอาคาร อาจต้องทุบทิ้งทั้งหมดเลยนะครับ เพราะแก้ไขไม่ทันแล้ว <<
นอกจากนี้ยังมีรอยร้าวอีกหลายลักษณะทั้งที่เป็นอันตรายและไม่อันตราย แต่อยากให้ลองสังเกตรอยร้าวที่เกิดขึ้นบริเวณโครงสร้างหลัก ได้แก่ คาน เสา และเพดาน หากมีรอยร้าวเกิดขึ้น แล้วเริ่มลุกลามมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีขนาดค่อนข้างใหญ่ นั่นเป็นสัญญาณอันตรายที่ใกล้เข้ามา ทั้งนี้ไม่ควรซ่อมแซมด้วยการซ่อมปกปิดรอยร้าวแบบง่ายๆ เพราะไม่ได้ช่วยให้คนในบ้านปลอดภัยมากขึ้นเลย หากไม่แน่ใจลองปรึกษาวิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญทันทีนะครับ