top of page
Image by ThisisEngineering RAEng

Know

Knowledge

บทความและความมั่นใจของทีม วิศวกร I Can Build

staff
วิศวกรของ  ICANBUILD

แสนทรัพท์ ชูรัศมี

Education

  • B.ENG.KMITL
  • M.ENG.KMITL

รอยร้าวของตัวอาคาร บ่งบอกถึงลักษณะปัญหาการทรุดตัวของอาคาร ซึ่งเมื่อทราบปัญหาแล้วทีมงานวิศวกรจะคำนวณหาวิธีแก้ไข โดยจะอยู่ระยะปลอดภัยและอาศัยหลักวิศวกรรมมาช่วย  มาดูรอยร้าวเบื้องต้นกันครับว่าเกิดจากอะไร

1. รอยร้าวแตกลึกที่เสา 
รอยร้าวที่เสาแบบนี้ให้รีบแก้ไขบ้านทรุดโดยด่วนเพราะเกิดจากเสาแบกรับน้ำหนักมากจนเกินไป หรือมีการใช้งานไม่ถูกประเภท เช่น ใช้บ้านเป็นที่เก็บสิ่งของ หรือนำเครื่องจักรหนักมาตั้ง ส่งผลให้เสาต้องแบกรับน้ำหนักมากกว่าที่วิศวกรคำนวณมาถูกต้องแล้วในตอนแรก

2. รอยร้าวบนผนัง

ถ้าเจอต้องหาสาเหตุและแก้ไขบ้านทรุด
โดยด่วนซึ่งรอยร้าวชนิดนี้จะเป็นแนวเฉียงทแยงจากมุมบนลงล่างมักจะเกิดขึ้นกับเสาต้นใดต้นหนึ่งของตัวบ้านเป็นหลักจนเกิดการทรุดตัวลงตามคานที่รัดเสาแต่ละต้น สาเหตุในการทรุดตัวมักเกิดจาก การต่อเติมบ้านที่ผิดหลักการ เสาต้นเดิมไม่สามารถรับน้ำหนักได้หรือฐานรากของอาคารเกิดการทรุดตัวที่ไม่เท่ากัน ทำให้เสาเข็มเคลื่อนที่ออกจากจุดเดิม ขาดความต่อเนื่องกัน

3. ร้าว…แนวดิ่ง (กลางผนัง)
รอยร้าวชนิดนี้จะอยู่ตรงกลางผนังเป็นแนวดิ่งลงมาตรงๆ เกิดจากการมีของที่มีน้ำหนักมากมากดทับพื้นข้างบนพื้นจึงเกิดการแอ่นตัวเป็นรูปตัวย(U) ซึ่งคานที่อยู่เหนือผนังและพื้นนั้นไม่สามารถรองรับน้ำหนักได้ ผนังข้างล่างที่ติดกับพื้นจึงเกิดเป็นรอยร้าวขึ้นมานั่นเอง

จริงๆ แล้วยังมีรอยร้าวอีกหลายประเภทที่บ่งบอกถึงสาเหตุ ดังนั้น ถ้ารอยร้าวเหล่านี้ไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องถูกวิธี ตัวอาคารก็ยังไม่หาย เมื่อลูกค้าพบรอยร้าวอย่านิ่งเฉยควรปรึกษาวิศวกร ให้เข้าทำการตรวจสอบครับ

staff
วิศวกรของ  ICANBUILD

ผศ.ดร.จำลอง ปราบแก้ว​

Education

  • B.ENG.KMITL
  • M.ENG.Tokai Uni .Japan
  • D.ENG.Tokai Uni .Japan

บ้านร้าวบ้านทรุด มั่กจะเกิดจาก ระบบฐานรากที่ไม่แข็งแรง ที่มาจาากเสาเข็มโดยส่วนใหญ่ และจะพบในงานต่อเติมอาคารเป็นส่วนใหญ่ ปัญหาการต่อเติมบ้าน แล้วทรุดตัวทำให้ผนังแตก เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ และเกือบจะเรียกว่าเป็นธรรมชาติ เพราะเวลาเราต่อเติมบ้าน เรามักจะใช้เสาเข็มสั้น (ยาว 3-6 เมตร) ซึ่งใช้แรงคนตอก

แต่ความยาวเสาเข็มบ้านเดิมยาวประมาณ 20 เมตร เมื่อเสาเข็มตั้งอยู่บนความลึกต่างกันมากๆ เวลาระดับน้ำใต้ดินขึ้น หรือลงตามธรรมชาติ หรือเกิดจากเราสูบน้ำใต้ดิน ขึ้นมาใช้ทำให้พื้นดินยุบตัวลงปลายเสาเข็มซึ่งตั้งอยู่บนดินนั้น ก็ยุบตัวลงด้วย โดยทั่วไป ปลายเสาเข็มที่ตั้งอยู่ที่ระดับลึกกว่า จะยุบตัวน้อยกว่าเสาเข็มที่ตั้งอยู่ตื้นกว่า เวลาระดับน้ำใต้ดินลดลง ดินก็จะยุบตัว ซึ่งน้อยมากๆ ดังนั้น เสาเข็มสั้น จะทรุดตัวมากกว่าอาคารที่ตั้งบนเสาเข็มยาว ยิ่งนานหลายๆ ปี ความแตกต่างของกรทรุดตัวมากเข้า โครงสร้างก็จะแตกหัก ​ซึ่งวิธีแก้ไข ทีถูกต้องไม่ใช่่การนำปูนหรือวัสดุไปโปะไว้ ซึ๋งก็จะกลับมาแยกอีกครั้ง แต่ควรแก้ที่ต้นเหตุคือ เสาเข็ม ซึ่งในการที่จะเสริมเสาเข็มนั้น ก็มีอยู่ไม่กี่วิธี วิธีแรกคือทุบทิ้งแล้วสร้างใหม่โดยใช้เสาเข็มทีลึกพอ หรือถ้าไม่อยากทุบอาคาร ก็จะมีวิธี คือ การเสริมเข็มจากใต้พื้น UNDERPINNING นั่นเอง ซึ่งสามารถรับแรงได้อย่างดีเยี่ยมตามที่วิศวกรคำนวณ

staff
วิศวกรของ  ICANBUILD

อรรุจี แจ่มปฐม

Education

  • B.ENG.KMITL
  • M.ENG.CHULA

การแก้ไขบ้านทรุดหลายท่านอาจจะปล่อยปะละเลย แต่นั้นคือสัญญานของความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นอย่างมากหรือน้อยแล้วแต่กรณีซึ่งล้วนเป็นผลเนื่องมาจากการวางแผนและการเข้าใจผิดๆถูกๆมาสร้างบ้าน ในวันนี้การแก้ไขบ้านทรุดมีวิธีหลายวิธี แต่ที่ I CAN BUILD

เราเลือกใช้คือวิธีที่ลูกค้าไม่ต้องทุบหรือทำลายอาคารที่ทรุดเลยค่ะและยังไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเถือนกับตัวอาคารแน่อนค่ะ

 

ซึ่งวิธีเราจะขุดไปใต้ดินเพื่อทำการแก้ไขปัญหาบ้านทรุด​ และขั้นตอนในการทำจะต้องคำนวณโดยวิศวกรอย่างตรงไปตรงมาเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาอีกทีหลังค่ะ

staff
วิศวกรของ  ICANBUILD

ภากร สุขประเสริฐ

Education

  • B.ENG.CHULA

บ้านทรุด... แน่นอนว่าต้องเกิดจากระบบฐานราก และบ่อยครั้งจะพบในส่วนต่อเติมของบ้านโดยมีสาเหตุมาจากเสาเข็ม (ผู้รับเหมาต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย) มาดูกันว่า เกิดการทรุดอย่างไรเมื่อคุณลูกค้าลงเสาเข็มไม่ลึกพอ ทั้งๆที่ผู้รับเหมาก็ลงเข็มหลายต้นแล้ว

ดฟหกดฟด.png

เห็นไหมครับ บ้านที่ลงเสาเข็มสั้นจะเกิดปัญหาอย่างไร (ส่วนต่อเติมก็จะเป็นกรณีเดียวกัน) ดังนั้นวิธีแก้ไขคือเราต้องไปเสริมเสาให้มีความลึกที่ถึงชั้นดินแข็ง หรือกรณีคือทุบแล้วสร้างใหม่โดยใช้เสาเข็มที่ลึกพอและสามารถรับ Load ได้อยู่ในระยะปลอดภัย ส่วนวิธีของ ICANBUILD คือเราจะเสริมเสาใต้ดินและกดเสาโดยใช้ปั๊มกด และที่สำคัญไม่ต้องทุบบ้านออกเลย แล้วเสาเหล็กรับแรงได้ถึงจุดที่วิศวกรคำนวณเป๊ะ :)

bottom of page