top of page
banner web-01.jpg

Expert

Team of Engineer Expert

I CAN BUILD เราเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้ปัญหาอาคารทรุด แก้ไขโดยไม่ต้องทุบรื้ออาคาร ประหยัด ด้วยวิธี UNDERPINNING ไม่ว่าปัญหาจะหนักแค่ไหน เราสามารถช่วยคุณได้

บริการรับแก้ไข อาคาร บ้าน ส่วนต่อเติม ทรุด

ทำไมบ้านถึงทรุด

ทำไมบ้านถึงทรุด?

บ้านทรุด เป็นปัญหาที่พบบ่อยเมื่อเราต่อเติมอาคารและลูกบ้านจะแก้ไขโดยการเก็บรอยร้าว ซึ่งมันเป็นการแก้ที่ปลายเหตุค่ะ สาเหตุจริงๆ แล้วมีดังนี้ จะขอยกตัวอย่างคร่าวๆนะคะ

1. การก่อสร้างอาคารในระบบฐานรากตื้น เช่น ใช้เสาเข็มสั้น 6 เมตร, เข็มไม้, ฐานรากแผ่, หรือพื้นชนิดวางบนดิน โดยเฉพาะชั้นดินในกรุงเทพและปริมณฑล ดินชั้นบนมีลักษณะเป็นดินเหนียวอ่อน เกิดการยุบอัดตัว หรือทรุดตัวได้มาก กรณีเช่นนี้ถือว่าไม่อันตรายแต่อย่างใด ถ้าโครงสร้างมีการทรุดตัวเท่าๆ กัน ที่นี้เราลองดูจากรูปในกรณีเสาเข็มต่อเติมที่สั้น เมื่อเวลาผ่านไปเสาเข็มของส่วนต่อเติมจะค่อยๆทรุดลง (โดยปกติจะปีละ 1 ซ.ม. ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่) ซึ่งเมื่อทรุดก็จะทำให้ผนังและพื้นนั้นเกิดรอยแยกและจะยิ่งห่างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่เหมือนกันนะค่ะ เพราะจนท้ายที่สุดก็ถล่มลงมาค่ะ

2. การก่อสร้างที่ใช้ระบบฐานรากเสาเข็มที่มีความยาวแตกต่างกัน เช่น งานต่อเติม, ดัดแปลง เป็นต้น ในกรณีนี้ถ้าดำเนินการก่อสร้างไม่ถูกหลักวิศวกรรม ไม่มีการตัด Joint หรือมีการเชื่อมโครงสร้างส่วนหนึ่งส่วนใดเข้ากับตัวบ้าน อาจเกิดการทรุดตัวไม่เท่ากัน, ทรุดร้าว, ทรุดเอียง ถ้ามีการเชื่อมโครงสร้างกับโครงสร้างเดิม อาจเกิดการยึดรั้งและส่งผลกับโครงสร้างเดิมด้วย โดยถ้าโครงสร้างหลักมีการแตกร้าวถือว่าเป็นการทรุดที่อันตราย จำเป็นต้องปรึกษาวิศวกร เพื่อหาทางแก้ไขโดยเร็ว

3. ความบกพร่องของเสาเข็มเอง เช่น เสาเข็มหัก, เสาเข็มชำรุด, เสาเข็มเดี่ยวเยื้องศูนย์, ฐานรากพลิก, เสาเข็มตอกไม่ได้ Blow Count เป็นต้น ส่วนใหญ่จะรู้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วเกิดความบกพร่องให้เห็น เช่น ผนังร้าวในแนวทแยง 45 องศา คล้ายๆ กันในทุกชั้น, มีเสียงโครงสร้างลั่น เป็นต้น ถือเป็นการทรุดที่อันตรายและจำเป็นต้องรีบแก้ไขเช่นเดียวกัน

4. การออกแบบฐานรากที่ผิดพลาด เช่น ไม่มีการเจาะสำรวจดิน, น้ำหนักบรรทุกจริงที่ถ่ายลงเสาเข็มต่อต้น ในแต่ละฐานรากไม่เท่ากัน เป็นต้น

ทำไมต้องวิธีนี้ icanbuild

ตัวบ้านหลักออกแบบและขออนุญาตก่อสร้างอย่างถูกต้อง โดยลงเสาเข็มให้ยาวลึกถึงชั้นดินแข็ง ทำให้บ้านทรุดน้อยมากหรือแทบไม่ทรุดเลย
 
ส่วนต่อเติมส่วนใหญ่ก่อสร้างโดยผู้รับเหมาทั่วไปที่ขาดความเข้าใจเรื่องการลงเสาเข็มหรือไร้ความรับผิดชอบ โดยลงเสาเข็มแบบสั้นหรือแบบกลุ่ม ซึ่งรับน้ำหนักได้ไม่เพียงพอ เมื่อเวลาผ่านไปก็จะทรุดตัว

S__4653139.jpg
cover photo5.png
ปรึกษาปัญหากับเรา
ฟรี ไม่เสียค่าใช้จ่าย
line-add-friend.png

LINE : @ICANBUILDD

รูปภาพลักษณะบ้านทรุดที่ พบได้บ่อย
เราช่วยคุณได้ถ้าคุณกำลังมีปัญหาเหล่านี้ แก้ไขโดยทีมวิศวกร

WORKS

Our Solution Works

วิธีแก้ไขบ้านทรุดของเรา "หายขาด 100%"

I CAN BUILD เราซ่อมบ้านทรุดบ้านเอียงโดยวิเคราะห์จากสาเหตุ ด้วยวิธี กดเสาเข็มจากใต้พื้นอาคารให้ลึกถึงชั้นดินแข็ง ด้วยเทคโนโลยีเครื่องกดไฮดรอลิกของเราไร้แรงสั่นสะเทือนและสามารถทำในพื้นที่คับแคบได้ ซึ่งวิธีการติดตั้งนี้เรียกว่าการเสริมเสาเข็มใต้อาคารหรือ"underpinning" เป็นการแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของการทรุดตัวโดยทำเสาเข็มเสริมตรงตำแหน่งฐานรากที่มีปัญหา อีกทั้งยังสามารถรับน้ำหนักบรรทุกได้ทันทีเมื่อติดตั้งเสร็จ จึงลดความเสี่ยงสำหรับอาคารที่มีปัญหาทรุดตัวและยังชะลอการทรุดตัวไม่ให้ถึงขั้นวิกฤติ ซึ่งวิศวกรเป็นผู้คำนวณน้ำหนักลงฐานราก ออกแบบตำแหน่งที่น้ำหนักของอาคารฐานราก หรือตำแหน่งที่ต้องการให้เสาเข็มต้นใหม่รับน้ำหนัก กำหนดขนาดความยาว จำนวนเสาเข็มที่เสริมซึ่งจะต้องเพียงพอที่จะรับน้ำหนักแทนเสาเข็มเดิมได้อย่างปลอดภัย

วิธีการแก้ไขบ้านทรุดโดยทั่วไปจะมีสองวิธี

(Process of Underpinnings)

แต่ทาง I can build จะแนะนำวิธีที่หนึ่งมากกว่าค่ะมาดูความแตกต่างของสองวิธีนะคะ
S__5013609.jpg

วิธีที่ 1

คือการเสริมเข็มจากใต้ฐานรากซึ่งจะต้องทำการขุดลงไปใต้ฐานรากเดิมแล้วกดเข็มใต้ฐานรากเดิม จะเหมือนลักษณะคนแบกกล่องถ้าบ้านเป็นกล่องแล้วเราไปยกตรงกลางกล่อง ก็ความรู้สึกจะเหมือนว่าเราสามารถรับน้ำหนักของกล่องได้ดีขึ้นก็จะเหมือนกลับเสาเข็มที่รับโครงสร้างได้ดีขึ้นในวิธีนี้ดังนั้นวิธีนี้จึงเหมาะกับงานที่หนักหนักเช่นตึกหรืออาคารเอียงและจะทำให้มีประสิทธิภาพในการยกได้ดียิ่งขึ้นค่ะ

S__5013611.jpg

วิธีที่ 2

คือการเสริมเข็มจากข้างคานวิธีนี้จะทำการเปิดลมเล็กน้อยบริเวณข้างคานจากนั้นขุดเพื่อให้เห็นท้องคานแล้วใช้บ่ารับโดยเชื่อมติดกับเครื่องกดไฮดรอลิกทำการกดเสาที่ชุบกัลวาไนท์ลงไปซึ่งวิธีนี้จะรับน้ำหนักได้ไม่ค่อยดีและบางกรณีจะไม่สามารถทำบริเวณที่ติดกับตัวบ้านหลักได้และพื้นที่จำกัด ถ้าเปรียบวิธีนี้เสมือนโครงสร้างบ้านเป็นกล่องแล้วเราทำการยกด้านข้างกล่องความรู้สึกจะเหมือนรับแรงได้ไม่ค่อยเยอะแต่วิธีนี้จะรวดเร็วและหน้างานไม่เลอะค่ะ

ขั้นตอนการกดเสาด้วยแท่นไฮดรอลิก

เสาเข็มเมื่อกดถึงชั้นดินแข็งแล้วจะสามารถใช้แรงต้านจากชั้นดินแข็งปรับยกอาคารได้ตัวอย่างดังคลิปที่แสดงด้านล่างค่ะ

แสดงรอยร้าวหลังการยกจะมีการขยับขึ้นมาชิดกัน

Our Uniqueness

จุดเด่นของการใช้วิธีนี้

01

รับแรงได้ดีเนื่องจากใกล้กับฐานราก

02

ไม่ต้องทุบทำลายอาคาร

03

ลูกค้าไม่ต้องย้ายที่อยู่

04

ทำในพื้นที่แคบได้

05

ไร้แรงสั่นสะเทือน
แก้ไขบ้านทรุด icanbuild

ตัวอย่าง
ผลงานที่เราแก้

Our Process

ขั้นตอนการทำงานของเรา

process-01.jpg
process-02.jpg
process-03.jpg
process-04.jpg
process-05.jpg
process-06.jpg
bottom of page